Menu
Homewebadmin_bkk (Page 6)
การเลือกซื้อผัก-ผลไม้สด และวิธีลดสารตกค้าง

การเลือกซื้อผัก-ผลไม้สด และวิธีลดสารตกค้าง

เหตุใดจึงต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผัก – ผลไม้ ?           เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ปลูกพืชได้หลากหลายชนิด ตลอดทั้งปี และมีศัตรูพืชมากกว่า 700 ชนิด ข้อมูลจากสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทยระบุว่า ในความเป็นจริงผู้บริโภคพืชผักและผลไม้ส่วนใหญ่ ต้องการผลิตผลที่มีลักษณะสวยงาม ไม่มีร่องรอยการถูกทำลาย และเกษตรกรมีความประสงค์ที่จะจำหน่ายผลิตผลให้ได้ราคาสูง จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพื่อเป็นหลักประกันว่าผลผลิตจะไม่เสียหาย และมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาด ในขณะเดียวกัน ประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี แต่พื้นที่เพาะปลูกพืชลดลงเรื่อย ๆ เกษตรกรจึงมีความจำเป็นต้องหาทางปกป้อง ผลผลิตของตนไม่ให้เสียหายจากศัตรูพืช โดยใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีตกค้างที่มักพบปนเปื้อนในพืชผักและผลไม้มีผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร ?           สารเคมีที่มักพบตกค้างในผัก-ผลไม้ มักเป็นสารกำจัดศัตรูพืช และสารอื่นๆ เช่น สารฟอกขาว      ฟอร์มาลีน ถ้าร่างกายได้รับสารเคมีตกค้างจากผลผลิตที่บริโภค ในปริมาณมากอาจจะมีผล ดังนี้ สารกำจัดศัตรูพืช มีผลต่อระบบประสาทของเรา ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มึนงง หรือหายใจลำบาก และหากมีการสะสมในระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้           – สารฟอกขาว พบได้ในผักผลไม้สีขาว หรือสีเหลือง เช่น ถั่วงอก ขิง หน่อไม้ […]

ปลูกแตงกวาญี่ปุ่น “ไร้ดิน” ในกระสอบ รายได้งาม

ปลูกแตงกวาญี่ปุ่น “ไร้ดิน” ในกระสอบ รายได้งาม

วิธีการปลูกแตงกวาญี่ปุ่นไร้ดิน มีดังนี้ 1.นำเมล็ดแตงกวาพันธุ์เจแปนเพาะในถาดเพาะกล้า เป็นเวลา 7 วัน 2.นำกาบมะพร้าว ใส่ถุงพลาสติก หรือ ถุงกระสอบปุ๋ย3.นำต้นกล้าแตงกวาที่เพาะเตรียมไว้ มาใส่ถุงที่มีกาบมะพร้าว ปลูกต่อไปเรื่อยๆ 30วัน แตงกวาจะออกลูก เตรียมเก็บขายได้ ส่วนการรดน้ำ จะรดน้ำผ่านระบบอัตโนมัติ ซึ่งตั้งเวลารดทุกวัน วันละ 8 รอบ ซึ่งน้ำที่รดจะผสมปุ๋ยมาเรียบร้อยแล้ว ส่วนในกรณีที่มีแมลงและศัตรูพืชจะฉีดด้วยน้ำชีวภาพซึ่งเป็นสูตรเฉพาะผสมขึ้นเองเพื่อลดจำนวนแมลงไม่ให้มาทำความเสียหายต่อผลผลิต ในการปลูกแตงกวาญี่ปุ่นรวมๆแล้วจะใช้เวลาปลูก 1 เดือน เก็บ 1 เดือน จัดการแปลง 1 เดือน ก่อนจะปลูกรอบใหม่ เนื่องจากแตงกวาญี่ปุ่นเป็นพืชล้มลุก ต้นแตงกวาจะตาย ต้องปลูกใหม่ ก่อนจะปลูกรอบใหม่ใช้เวลาจัดการแปลงอีก 1 เดือน แตงกวาชอบอากาศเย็น ช่วงหน้าหนาวจะให้ผลผลิตมากเป็นพิเศษ แตงกวาญี่ปุ่น ปลูก 1 เดือน เก็บขายได้ทุกวัน เป็นเวลา 1 เดือนเนื่องจากแตงกวาญี่ปุ่นเป็นพืชล้มลุก ต้นแตงกวาจะตาย ต้องปลูกใหม่ ก่อนจะปลูกรอบใหม่ใช้เวลาจัดการแปลงอีก 1 เดือนซึ่งแตงกวาชอบอากาศเย็น ช่วงหน้าหนาวจะให้ผลผลิตมาก ปัจจุบันผลผลิตต่อรอบ ช่วงหน้าหนาวจะให้ผลผลิตมาก […]

ขอเชิญชวนเกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน

ขอเชิญชวนเกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน

สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขอเชิญชวน เกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ให้เป็นปัจจุบัน เมื่อเกษตรกรทำการเพาะปลูกแล้ว 15 วัน ให้แจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกร       หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ให้แจ้งปรับปรุงข้อมูลทุกปี ให้เป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นการยืนยันตัวจน และเป็นข้อมูลการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร รวมถึงเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ  ด้านพืช และสนับสนุนโครงการมาตรการภาครัฐต่าง ๆ ทางเลือกสำหรับขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สามารถดำเนินการได้ ดังนี้ 1. แจ้งกับเจ้าหน้าที่ โดยยื่นแบบ ทบก.01 ณ สถานที่รับขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร หรือสำนักงานเกษตรพื้นที่ 1 – 4 หรือผ่านผู้นำชุมชนหรือตัวแทนอาสาสมัครเกษตรหมูบ้าน (อกม.) 2. เกษตรกรดำเนินการด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน Farmbook หรือผ่าน e-Form ในการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ได้กำหนดจำนวนเนื้อที่ขั้นต่ำในการขึ้นทะเบียน คือ ข้าว พืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น นาเกลือ จำนวน 1 ไร่ ผัก สมุนไพร ไม้ดอก ไม้ประดับ จำนวน 1 […]

พืชป่าสมุนไพร

พืชป่าสมุนไพร

        พืชป่าสมุนไพร           พืชสมุนไพรชนิดที่เป็นพืชป่าพื้นเมืองของประเทศไทย (native species) มีจำนวนกว่า 512 ชนิด        ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านกว่า 209 ตำรับ เนื่องจากพืชป่าท้องถิ่นมีความเสี่ยงต่อการ     สูญพันธุ์จากการทำลายป่าไม้ การเก็บหามาใช้ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง     ความเสี่ยงต่อการสูญหายขององค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์ไปตามสมัยนิยม และวิกฤตการณ์หมอสมุนไพรดังนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรในยุคที่มีการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน หันมาปลูกพืชป่าสมุนไพรจะเป็นอีกทางเลือกที่ดีต่อการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการอนุรักษ์พืชป่าพื้นเมืองของประเทศไทยให้คงอยู่ และยังนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย ตัวอย่างพืชสมุนไพรป่า ได้แก่ ขี้เหล็ก ชื่อท้องถิ่น : ขี้เหล็ก (สระแก้ว, พิษณุโลก) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) H. S. Irwin & Barneby ชื่อวงศ์ : FABACEAE ลักษณะเด่น : ไม้ต้น สูง 10–25 ม. เปลือกเรียบ-แตกร่องตื้นตาม ยาว ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ มีใบย่อย 7–10 […]

10 ต้นไม้ปลูกไว้ ช่วยลดฝุ่น PM 2.5

10 ต้นไม้ปลูกไว้ ช่วยลดฝุ่น PM 2.5

ต้นไม้ลดฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไร 1. ต้นไม้สามารถดูดซับกลิ่น มลพิษ และ ฝุ่นละออง ผ่านทางใบ เปลือก และ ลำต้น จึงมีคุณสมบัติดักจับฝุ่นละอองในอากาศได้ 2. อากาศที่ผ่านเรือนยอดต้นไม้ จะมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 ลดลง 10-50% และทำให้อุณหภูมิลดลง     0.4 – 3 องศาเซลเซียส 3. ฝุ่น PM 2.5 จะเกาะแน่นกับผิวของใบไม้ที่เป็นชั้นเยื่อบุภายนอก รวมถึงเปลือกที่กิ่งก้านและลำต้น    โดยฝุ่นที่เกาะค้างอยู่จะถูกน้ำฝนชะล้างและไหลลงสู่พื้น ลดการกระจายของฝุ่น 4. การสังเคราะห์แสงของพืช จะช่วยดูดฝุ่น PM2.5 และ ก๊าซพิษต่างๆ แล้วเปลี่ยนเป็นก๊าซออกซิเจนและไอน้ำออกมาแทน เปรียบเสมือนเครื่องกรองอากาศที่มีชีวิต ต้นไม้ที่เหมาะแก่การดักจับฝุ่นละอองเป็นพิเศษจะต้องเป็นต้นไม้ที่โตเร็ว ผิวใบไม่เรียบ มีขนหรือไขปกคลุม ส่วนเรื่องของความหนาแน่นของพุ่มใบก็มีส่วน เพราะมันเพิ่มพื้นที่ผิวที่จะดักจับฝุ่น ดังนั้น ใครที่จะปลูกต้นไม้      เพื่อลดฝุ่นก็ต้องนึกถึงสิ่งนี้ และก็ต้องดูด้วยว่าต้นไม้เหล่านั้นเหมาะกับการปลูกที่ไหนด้วยสำหรับต้นไม้ที่เหมาะกับการปลูกในเมือง ไม้พุ่มและไม้ต้น สามารถปลูกเพื่อลดฝุ่นตามท้องถนนได้ มีดังนี้ 1. […]

เคล็ดไม่ลับ การดูแลผลไม้ในช่วงฤดูแล้ง

เคล็ดไม่ลับ การดูแลผลไม้ในช่วงฤดูแล้ง

การดูแลไม้ผล ไม้ยืนต้น ก่อน – หลังพายุฤดูร้อนมาเยือน  กรมส่งเสริมการเกษตรแจ้งเตือนเกษตรกรให้เตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายจากพายุฤดูร้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่ไม้ยืนต้น และไม้ผลที่กำลังมีผลผลิตในขณะนี้   และขอแนะนำวิธีการหลีกเสี่ยงและบรรเทาความเสียหายในการดูแลป้องกันไม้ยืนต้น และไม้ผลในช่วงฤดูแล้งนี้ ดังนี้           1. ปลูกต้นไม้บังลม เช่น ไม้ไผ่ กระถินณรงค์ ขี้เหล็กบ้าน และสะเดาอินเดีย เพื่อลดความรุนแรง ของลมก่อนที่จะเข้าถึงสวนผลไม้หรือพื้นที่เพาะปลูก จะช่วยลดความสูญเสียจากพายุลมแรงได้           2. ตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบหรือกิ่งที่ไม่ให้ผลผลิตออก เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ไม่ต้านลม สำหรับต้นไม้ผลที่อายุมากและมีลำต้นสูง อาจตัดทอนส่วนยอดให้ต่ำลงเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้โค่นล้มง่ายเมื่อถูกลมพายุพัดแรง ขณะเดียวกันควรใช้เชือกโยงกิ่งและต้น เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก รวมทั้งใช้ไม้ค้ำกิ่งและค้ำต้นเพื่อช่วยพยุงไม่ให้โค่นลงได้ง่าย           3. ทำเนินดินเพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคน และทำระบบระบายน้ำ           4. เก็บผลผลิตที่แก่ออกไปบ่มหรือจำหน่ายก่อน เพื่อลดความเสียหาย และลดน้ำหนักบนกิ่งและต้นลง  สำหรับการดูแลพื้นที่เกษตรภายหลังจากเกิดพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรดูแลดังนี้           1. กรณีที่ต้นไม้ได้รับผลกระทบจากพายุ สามารถที่จะฟื้นฟูได้โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ฉีกหัก หรือต้นไม้ที่โค่นล้มออกทันทีที่พื้นดินในบริเวณสวนแห้ง           2. ขณะที่ดินยังเปียกชื้นอยู่ เกษตรกรไม่ควรนำเครื่องจักรกลเข้าไปในสวน เพราะจะทำให้โครงสร้างดินถูกทำลายและอัดแน่นได้ง่าย           3. กรณีที่มีดินโคลนทับถมเข้ามาในสวน […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร หนอนหัวดำมะพร้าว

ข่าวเตือนภัยการเกษตร หนอนหัวดำมะพร้าว

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวหนอนเข้าทำลายใบมะพร้าวโดยแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบจากนั้นถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น นำมาสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณใต้ทางใบ ตัวหนอนอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบ โดยทั่วไปหนอนหัวดำมะพร้าวชอบทำลายใบแก่ หากการทำลายรุนแรงจะพบว่า หนอนหัวดำมะพร้าวทำลายก้านใบทางจั่น และผลมะพร้าว ต้นมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำลงมะพร้าวลงทำลายทางใบหลายๆทาง พบว่าหนอนหัวดำมะพร้าวจะถักใยดึงใบมะพร้าวมาเรียงติดกันเป็นแพ เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่แล้วจะถักใยหุ้มลำตัวอีกครั้ง และเข้าดักแด้อยู่ภายในอุโมงค์ ดักแด้มีสีน้ำตาลเข้ม ดักแด้เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าดักแด้เพศเมียเล็กน้อย ผีเสื้อหนอนหัวดำมะพร้าวที่ผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่บนเส้นใยที่สร้างเป็นอุโมงค์ หรือซากใบที่ถูกหนอนหัวดำมะพร้าวลงทำลายแล้ว ตัวหนอนเมื่อฝักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 1-2 วัน ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบมะพร้าว จึงมักพบหนอนหัวดำมะพร้าวหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบมะพร้าวเดียวกัน หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้ แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. วิธีเขตกรรมและวิธีกล ตัดใบที่มีหนอนหัวดำมะพร้าวนำไปเผาทำลายทันที ไม่ควรเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์มะพร้าวหรือพืชตระกูลปาล์มมาจากแหล่งที่มีการระบาด           ๒. การใช้ชีววิธี การใช้แตนเบียนที่เฉพาะเจาะจงกับหนอนหัวดำมะพร้าว เช่น แตนเบียนโกนีโอซัต นิแฟนติดิส (Goniozus nephantidis) โดยปล่อยช่วงเวลาเย็น พลบค่ำ อัตรา 200 ตัวต่อไร่ ให้กระจายทั่วแปลง เดือนละครั้ง ถ้าปล่อยแตนเบียนได้มากจะทำให้เห็นผลในการควบคุมเร็วขึ้น […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟพริก กุหลาบ

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟพริก กุหลาบ

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกุหลาบ สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           ระยะออกดอก ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยจะใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณยอดอ่อน ทำให้ยอดอ่อนมีลักษณะหงิกงอ มีรอยสีน้ำตาลดำ เหี่ยวแห้ง ถ้าทำลายส่วนดอกจะทำให้ดอกแคระแกร็น หรือทำให้กลีบดอกมีสีน้ำตาลไหม้ไม่ได้คุณภาพตามความต้องการของตลาด แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           พ่นสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 10 – 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟฝ้าย กล้วยไม้

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟฝ้าย กล้วยไม้

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกล้วยไม้ สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           ทุกระยะการเจริญเติบโต ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายกล้วยไม้บริเวณดอก โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นแท่ง (stylet) เขี่ยเนื้อเยื่อพืช    เพื่อดูดน้ำเลี้ยง ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายมีรอยแผลสีน้ำตาล ความเสียหายจะเกิดขึ้นเมื่อพบทำลายที่ดอกทำให้ดอก    มีตำหนิ แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           1. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาหารในบริเวณแปลงกล้วยไม้ เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นแหล่งขยายพันธุ์    และแพร่พันธุ์ของเพลี้ยไฟชนิดนี้           2. ในกรณีที่มีการปลูกพืชอาหารรอบ ๆ แปลงกล้วยไม้ควรทำการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟบนพืชอาหารเหล่านั้นด้วย เพื่อลดการระบาดของเพลี้ยไฟ           3. พ่น สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 10 – 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงงวงมะพร้าว

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงงวงมะพร้าว

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           มักทำลายตามรอยทำลายของด้วงแรดมะพร้าว โดยวางไข่บริเวณบาดแผลตามลำต้น หรือบริเวณรอยแตก  ของเปลือก ด้วงงวงมะพร้าวก็สามารถเจาะส่วนที่อ่อนของมะพร้าวเพื่อวางไข่ได้ หนอนที่ฝักตัวออกจากไข่จะกัดกิน  ชอนไชไปในต้นมะพร้าว ทำให้เกิดแผลเน่าภายใน ต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายจะแสดงอาการเฉาหรือยอดหักพับ       เพราะบริเวณที่หนอนทำลายจะเป็นโพรง มีรูและแผลเน่าต่อเนื่องไปในบริเวณใกล้เคียง หนอนจะกัดกินไปจนกระทั่ง  ต้นเป็นโพรงใหญ่ ไม่สามารถส่งน้ำและอาหารไปถึงยอดได้ และทำให้ต้นมะพร้าวตายในที่สุด แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. ต้นมะพร้าวที่ถูกด้วงมะพร้าวชนิดใหญ่ทำลาย ควรตัดโค่นทอนเป็นท่อนแล้วผ่าจับหนอนทำลาย           2. ไม่ควรให้ต้นมะพร้าวเกิดแผลหรือปลูกโคนลอย เพราะจำเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่ และตัวหนอนที่ฝักจากไข่จะเข้าทำลายในต้นมะพร้าวได้ หากลำต้นเป็นรอยแผล ควรทาด้วยน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้ว หรือชันผสมกับน้ำมันยาง เพื่อป้องกันการวางไข่           3. ป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าวอย่าให้ระบาดในสวนมะพร้าว เพราะรอยแผลทีด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้    จะเป็นช่องทางทำให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่ และเมื่อไข่ฝักออกเป็นตัวหนอนของด้วงงวงมะพร้าว ก็จะเข้าไปทำลายในต้นมะพร้าวได้ง่ายขึ้น อ้างอิงจาก:   ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี ประชาสัมพันธ์โดย กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Skip to content