Menu

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงงวงมะพร้าว

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว

สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้

          อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่

ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้

          มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว

ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ

          มักทำลายตามรอยทำลายของด้วงแรดมะพร้าว โดยวางไข่บริเวณบาดแผลตามลำต้น หรือบริเวณรอยแตก  ของเปลือก ด้วงงวงมะพร้าวก็สามารถเจาะส่วนที่อ่อนของมะพร้าวเพื่อวางไข่ได้ หนอนที่ฝักตัวออกจากไข่จะกัดกิน  ชอนไชไปในต้นมะพร้าว ทำให้เกิดแผลเน่าภายใน ต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายจะแสดงอาการเฉาหรือยอดหักพับ       เพราะบริเวณที่หนอนทำลายจะเป็นโพรง มีรูและแผลเน่าต่อเนื่องไปในบริเวณใกล้เคียง หนอนจะกัดกินไปจนกระทั่ง  ต้นเป็นโพรงใหญ่ ไม่สามารถส่งน้ำและอาหารไปถึงยอดได้ และทำให้ต้นมะพร้าวตายในที่สุด

แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้

          ๑. ต้นมะพร้าวที่ถูกด้วงมะพร้าวชนิดใหญ่ทำลาย ควรตัดโค่นทอนเป็นท่อนแล้วผ่าจับหนอนทำลาย

          2. ไม่ควรให้ต้นมะพร้าวเกิดแผลหรือปลูกโคนลอย เพราะจำเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่ และตัวหนอนที่ฝักจากไข่จะเข้าทำลายในต้นมะพร้าวได้ หากลำต้นเป็นรอยแผล ควรทาด้วยน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้ว หรือชันผสมกับน้ำมันยาง เพื่อป้องกันการวางไข่

          3. ป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าวอย่าให้ระบาดในสวนมะพร้าว เพราะรอยแผลทีด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้    จะเป็นช่องทางทำให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่ และเมื่อไข่ฝักออกเป็นตัวหนอนของด้วงงวงมะพร้าว ก็จะเข้าไปทำลายในต้นมะพร้าวได้ง่ายขึ้น

อ้างอิงจาก:   ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี

ประชาสัมพันธ์โดย กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Skip to content