Menu
ข่าวเตือนภัยการเกษตร หนอนหัวดำมะพร้าว

ข่าวเตือนภัยการเกษตร หนอนหัวดำมะพร้าว

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวหนอนเข้าทำลายใบมะพร้าวโดยแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบจากนั้นถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น นำมาสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณใต้ทางใบ ตัวหนอนอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบ โดยทั่วไปหนอนหัวดำมะพร้าวชอบทำลายใบแก่ หากการทำลายรุนแรงจะพบว่า หนอนหัวดำมะพร้าวทำลายก้านใบทางจั่น และผลมะพร้าว ต้นมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำลงมะพร้าวลงทำลายทางใบหลายๆทาง พบว่าหนอนหัวดำมะพร้าวจะถักใยดึงใบมะพร้าวมาเรียงติดกันเป็นแพ เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่แล้วจะถักใยหุ้มลำตัวอีกครั้ง และเข้าดักแด้อยู่ภายในอุโมงค์ ดักแด้มีสีน้ำตาลเข้ม ดักแด้เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าดักแด้เพศเมียเล็กน้อย ผีเสื้อหนอนหัวดำมะพร้าวที่ผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่บนเส้นใยที่สร้างเป็นอุโมงค์ หรือซากใบที่ถูกหนอนหัวดำมะพร้าวลงทำลายแล้ว ตัวหนอนเมื่อฝักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 1-2 วัน ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบมะพร้าว จึงมักพบหนอนหัวดำมะพร้าวหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบมะพร้าวเดียวกัน หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้ แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. วิธีเขตกรรมและวิธีกล ตัดใบที่มีหนอนหัวดำมะพร้าวนำไปเผาทำลายทันที ไม่ควรเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์มะพร้าวหรือพืชตระกูลปาล์มมาจากแหล่งที่มีการระบาด           ๒. การใช้ชีววิธี การใช้แตนเบียนที่เฉพาะเจาะจงกับหนอนหัวดำมะพร้าว เช่น แตนเบียนโกนีโอซัต นิแฟนติดิส (Goniozus nephantidis) โดยปล่อยช่วงเวลาเย็น พลบค่ำ อัตรา 200 ตัวต่อไร่ ให้กระจายทั่วแปลง เดือนละครั้ง ถ้าปล่อยแตนเบียนได้มากจะทำให้เห็นผลในการควบคุมเร็วขึ้น […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟพริก กุหลาบ

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟพริก กุหลาบ

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกุหลาบ สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           ระยะออกดอก ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยจะใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณยอดอ่อน ทำให้ยอดอ่อนมีลักษณะหงิกงอ มีรอยสีน้ำตาลดำ เหี่ยวแห้ง ถ้าทำลายส่วนดอกจะทำให้ดอกแคระแกร็น หรือทำให้กลีบดอกมีสีน้ำตาลไหม้ไม่ได้คุณภาพตามความต้องการของตลาด แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           พ่นสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 10 – 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟฝ้าย กล้วยไม้

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟฝ้าย กล้วยไม้

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกล้วยไม้ สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           ทุกระยะการเจริญเติบโต ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายกล้วยไม้บริเวณดอก โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นแท่ง (stylet) เขี่ยเนื้อเยื่อพืช    เพื่อดูดน้ำเลี้ยง ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายมีรอยแผลสีน้ำตาล ความเสียหายจะเกิดขึ้นเมื่อพบทำลายที่ดอกทำให้ดอก    มีตำหนิ แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           1. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาหารในบริเวณแปลงกล้วยไม้ เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นแหล่งขยายพันธุ์    และแพร่พันธุ์ของเพลี้ยไฟชนิดนี้           2. ในกรณีที่มีการปลูกพืชอาหารรอบ ๆ แปลงกล้วยไม้ควรทำการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟบนพืชอาหารเหล่านั้นด้วย เพื่อลดการระบาดของเพลี้ยไฟ           3. พ่น สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 10 – 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงงวงมะพร้าว

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงงวงมะพร้าว

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           มักทำลายตามรอยทำลายของด้วงแรดมะพร้าว โดยวางไข่บริเวณบาดแผลตามลำต้น หรือบริเวณรอยแตก  ของเปลือก ด้วงงวงมะพร้าวก็สามารถเจาะส่วนที่อ่อนของมะพร้าวเพื่อวางไข่ได้ หนอนที่ฝักตัวออกจากไข่จะกัดกิน  ชอนไชไปในต้นมะพร้าว ทำให้เกิดแผลเน่าภายใน ต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายจะแสดงอาการเฉาหรือยอดหักพับ       เพราะบริเวณที่หนอนทำลายจะเป็นโพรง มีรูและแผลเน่าต่อเนื่องไปในบริเวณใกล้เคียง หนอนจะกัดกินไปจนกระทั่ง  ต้นเป็นโพรงใหญ่ ไม่สามารถส่งน้ำและอาหารไปถึงยอดได้ และทำให้ต้นมะพร้าวตายในที่สุด แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. ต้นมะพร้าวที่ถูกด้วงมะพร้าวชนิดใหญ่ทำลาย ควรตัดโค่นทอนเป็นท่อนแล้วผ่าจับหนอนทำลาย           2. ไม่ควรให้ต้นมะพร้าวเกิดแผลหรือปลูกโคนลอย เพราะจำเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่ และตัวหนอนที่ฝักจากไข่จะเข้าทำลายในต้นมะพร้าวได้ หากลำต้นเป็นรอยแผล ควรทาด้วยน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้ว หรือชันผสมกับน้ำมันยาง เพื่อป้องกันการวางไข่           3. ป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าวอย่าให้ระบาดในสวนมะพร้าว เพราะรอยแผลทีด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้    จะเป็นช่องทางทำให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่ และเมื่อไข่ฝักออกเป็นตัวหนอนของด้วงงวงมะพร้าว ก็จะเข้าไปทำลายในต้นมะพร้าวได้ง่ายขึ้น อ้างอิงจาก:   ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี ประชาสัมพันธ์โดย กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงแรด

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงแรด

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืชโดยการบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลา หรือรูปพัด ถ้าโดนทำลายมาก ๆ จะทำให้ใบที่เกิดใหม่แคะแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัดเป็นเนื้อเยื้ออ่อนทำให้เกิดยอดเน่า จนถึงต้นตาย      ในที่สุด ด้วงแรดมะพร้าวในระยะตัวหนอน ส่วนใหญ่ตะพบตามกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จะกัดกินและทำลายระบบราก   ของมะพร้าวปลูกใหม่ ทำให้พบอาการยอดแห้งและเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าวเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมานาน ถ้ามีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย แกลบ ควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน หรือกองให้เป็นที่ แล้วหมั่นกลับเพื่อตรวจดู หากพบหนอนให้จับมาทำลายหรือเผากองขยะนั้นเสีย ส่วนของลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้ หรือมะพร้าว ที่ยืนต้นตายควรโค่นลงมาเผาทำลาย ต้นมะพร้าวที่ถูกตัดเพื่อปลูกทดแทน ถ้ายังสดอยู่เผาทำลายไม่ได้ ควรทอนออกเป็นท่อนสั้นๆ นำมารวมกันไว้ ปล่อยให้ผุสลายล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ ด้วงจะวางไข่ตามเปลือกมะพร้าวที่ติดอยู่กับพื้นดินเพราะมีความชุ่มชื้นสูงและผุ […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ไรขาวพริก

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ไรขาวพริก

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลพริก สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           ทุกระยะการเจริญเติบโต ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนยอด และดอก ทำให้ใบและยอดหงิกงอ ขอบใบม้วนงอลงด้านล่าง ใบมีลักษณะเรียวแหลม ก้านใบยาว เปราะหักง่ายอาการขั้น รุนแรงส่วนยอดจะแตกเป็นฝอย ถ้าทำลายดอก กลีบดอกจะบิดแครน แกร็น ชะงักการเกิดดอก หากระบาดรุนแรงต้นพริกจะแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต มักพบระบาดในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. สุ่มสำรวจพริกทุกสัปดาห์ หากพบอาการใบหงิกม้วนงอลงที่เกิดจากการทำลายของไรขาวพริก ให้ทำการป้องกันกำจัด           ๒. เมื่อพบการระบาดใช้สารฆ่าแมลง-ไร ที่มีประสิทธิภาพ เช่น อะมิทราช 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไพริดาเบน 20% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร แอนแทรคโนส หรือ โรคกุ้งแห้ง

ข่าวเตือนภัยการเกษตร แอนแทรคโนส หรือ โรคกุ้งแห้ง

(เชื้อรา Colletrichumgloeosporioides, ColletrichumCapsici) เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลพริก สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           ทุกระยะการเจริญเติบโต ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           โรคนี้มักพบบนผลพริกที่เริ่มสุก หรือก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี อาการเริ่มแรกเป็นจุดหรือแผลช้ำยุบตัวเล็กน้อย ต่อมาแผลขยายใหญ่ลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นตุ่มสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน ในสภาพอากาศที่ชื้นจะเห็นเมือกเยิ้มสีส้มอ่อน ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ผลเน่า ผลพริกที่เป็นโรคนี้จะโค้งงอบิดเบี้ยว ลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง และร่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยว แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ หรือต้นกล้า จากแหล่งแหล่งที่ปราศจากโรค หรือถ้าเก็บเมล็ดพันธุ์เองต้องเลือกจาก    ผลพริกที่ไม่เป็นโรค           ๒. ควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส นาน 20-30 นาที ก่อนเพาะ           ๓. จัดระยะปลูกพริกให้เหมาะสม ไม่ปลูกชิดกันเกินไป และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกเพื่อไม่ให้แปลงปลูก       มีความชื้นสูง ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค           ๔. หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบผลพริกเป็นโรค เก็บนำไปทำลายนอกแปลงปลูก […]

Skip to content