Menu
Homewebadmin_bkk (Page 7)
10 ต้นไม้ปลูกไว้ ช่วยลดฝุ่น PM 2.5

10 ต้นไม้ปลูกไว้ ช่วยลดฝุ่น PM 2.5

ต้นไม้ลดฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไร 1. ต้นไม้สามารถดูดซับกลิ่น มลพิษ และ ฝุ่นละออง ผ่านทางใบ เปลือก และ ลำต้น จึงมีคุณสมบัติดักจับฝุ่นละอองในอากาศได้ 2. อากาศที่ผ่านเรือนยอดต้นไม้ จะมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 ลดลง 10-50% และทำให้อุณหภูมิลดลง     0.4 – 3 องศาเซลเซียส 3. ฝุ่น PM 2.5 จะเกาะแน่นกับผิวของใบไม้ที่เป็นชั้นเยื่อบุภายนอก รวมถึงเปลือกที่กิ่งก้านและลำต้น    โดยฝุ่นที่เกาะค้างอยู่จะถูกน้ำฝนชะล้างและไหลลงสู่พื้น ลดการกระจายของฝุ่น 4. การสังเคราะห์แสงของพืช จะช่วยดูดฝุ่น PM2.5 และ ก๊าซพิษต่างๆ แล้วเปลี่ยนเป็นก๊าซออกซิเจนและไอน้ำออกมาแทน เปรียบเสมือนเครื่องกรองอากาศที่มีชีวิต ต้นไม้ที่เหมาะแก่การดักจับฝุ่นละอองเป็นพิเศษจะต้องเป็นต้นไม้ที่โตเร็ว ผิวใบไม่เรียบ มีขนหรือไขปกคลุม ส่วนเรื่องของความหนาแน่นของพุ่มใบก็มีส่วน เพราะมันเพิ่มพื้นที่ผิวที่จะดักจับฝุ่น ดังนั้น ใครที่จะปลูกต้นไม้      เพื่อลดฝุ่นก็ต้องนึกถึงสิ่งนี้ และก็ต้องดูด้วยว่าต้นไม้เหล่านั้นเหมาะกับการปลูกที่ไหนด้วยสำหรับต้นไม้ที่เหมาะกับการปลูกในเมือง ไม้พุ่มและไม้ต้น สามารถปลูกเพื่อลดฝุ่นตามท้องถนนได้ มีดังนี้ 1. […]

เคล็ดไม่ลับ การดูแลผลไม้ในช่วงฤดูแล้ง

เคล็ดไม่ลับ การดูแลผลไม้ในช่วงฤดูแล้ง

การดูแลไม้ผล ไม้ยืนต้น ก่อน – หลังพายุฤดูร้อนมาเยือน  กรมส่งเสริมการเกษตรแจ้งเตือนเกษตรกรให้เตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายจากพายุฤดูร้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่ไม้ยืนต้น และไม้ผลที่กำลังมีผลผลิตในขณะนี้   และขอแนะนำวิธีการหลีกเสี่ยงและบรรเทาความเสียหายในการดูแลป้องกันไม้ยืนต้น และไม้ผลในช่วงฤดูแล้งนี้ ดังนี้           1. ปลูกต้นไม้บังลม เช่น ไม้ไผ่ กระถินณรงค์ ขี้เหล็กบ้าน และสะเดาอินเดีย เพื่อลดความรุนแรง ของลมก่อนที่จะเข้าถึงสวนผลไม้หรือพื้นที่เพาะปลูก จะช่วยลดความสูญเสียจากพายุลมแรงได้           2. ตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบหรือกิ่งที่ไม่ให้ผลผลิตออก เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ไม่ต้านลม สำหรับต้นไม้ผลที่อายุมากและมีลำต้นสูง อาจตัดทอนส่วนยอดให้ต่ำลงเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้โค่นล้มง่ายเมื่อถูกลมพายุพัดแรง ขณะเดียวกันควรใช้เชือกโยงกิ่งและต้น เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก รวมทั้งใช้ไม้ค้ำกิ่งและค้ำต้นเพื่อช่วยพยุงไม่ให้โค่นลงได้ง่าย           3. ทำเนินดินเพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคน และทำระบบระบายน้ำ           4. เก็บผลผลิตที่แก่ออกไปบ่มหรือจำหน่ายก่อน เพื่อลดความเสียหาย และลดน้ำหนักบนกิ่งและต้นลง  สำหรับการดูแลพื้นที่เกษตรภายหลังจากเกิดพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรดูแลดังนี้           1. กรณีที่ต้นไม้ได้รับผลกระทบจากพายุ สามารถที่จะฟื้นฟูได้โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ฉีกหัก หรือต้นไม้ที่โค่นล้มออกทันทีที่พื้นดินในบริเวณสวนแห้ง           2. ขณะที่ดินยังเปียกชื้นอยู่ เกษตรกรไม่ควรนำเครื่องจักรกลเข้าไปในสวน เพราะจะทำให้โครงสร้างดินถูกทำลายและอัดแน่นได้ง่าย           3. กรณีที่มีดินโคลนทับถมเข้ามาในสวน […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร หนอนหัวดำมะพร้าว

ข่าวเตือนภัยการเกษตร หนอนหัวดำมะพร้าว

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวหนอนเข้าทำลายใบมะพร้าวโดยแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบจากนั้นถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น นำมาสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณใต้ทางใบ ตัวหนอนอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบ โดยทั่วไปหนอนหัวดำมะพร้าวชอบทำลายใบแก่ หากการทำลายรุนแรงจะพบว่า หนอนหัวดำมะพร้าวทำลายก้านใบทางจั่น และผลมะพร้าว ต้นมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำลงมะพร้าวลงทำลายทางใบหลายๆทาง พบว่าหนอนหัวดำมะพร้าวจะถักใยดึงใบมะพร้าวมาเรียงติดกันเป็นแพ เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่แล้วจะถักใยหุ้มลำตัวอีกครั้ง และเข้าดักแด้อยู่ภายในอุโมงค์ ดักแด้มีสีน้ำตาลเข้ม ดักแด้เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าดักแด้เพศเมียเล็กน้อย ผีเสื้อหนอนหัวดำมะพร้าวที่ผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่บนเส้นใยที่สร้างเป็นอุโมงค์ หรือซากใบที่ถูกหนอนหัวดำมะพร้าวลงทำลายแล้ว ตัวหนอนเมื่อฝักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 1-2 วัน ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบมะพร้าว จึงมักพบหนอนหัวดำมะพร้าวหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบมะพร้าวเดียวกัน หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้ แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. วิธีเขตกรรมและวิธีกล ตัดใบที่มีหนอนหัวดำมะพร้าวนำไปเผาทำลายทันที ไม่ควรเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์มะพร้าวหรือพืชตระกูลปาล์มมาจากแหล่งที่มีการระบาด           ๒. การใช้ชีววิธี การใช้แตนเบียนที่เฉพาะเจาะจงกับหนอนหัวดำมะพร้าว เช่น แตนเบียนโกนีโอซัต นิแฟนติดิส (Goniozus nephantidis) โดยปล่อยช่วงเวลาเย็น พลบค่ำ อัตรา 200 ตัวต่อไร่ ให้กระจายทั่วแปลง เดือนละครั้ง ถ้าปล่อยแตนเบียนได้มากจะทำให้เห็นผลในการควบคุมเร็วขึ้น […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟพริก กุหลาบ

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟพริก กุหลาบ

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกุหลาบ สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           ระยะออกดอก ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยจะใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณยอดอ่อน ทำให้ยอดอ่อนมีลักษณะหงิกงอ มีรอยสีน้ำตาลดำ เหี่ยวแห้ง ถ้าทำลายส่วนดอกจะทำให้ดอกแคระแกร็น หรือทำให้กลีบดอกมีสีน้ำตาลไหม้ไม่ได้คุณภาพตามความต้องการของตลาด แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           พ่นสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 10 – 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟฝ้าย กล้วยไม้

ข่าวเตือนภัยการเกษตร เพลี้ยไฟฝ้าย กล้วยไม้

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกล้วยไม้ สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           ทุกระยะการเจริญเติบโต ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายกล้วยไม้บริเวณดอก โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นแท่ง (stylet) เขี่ยเนื้อเยื่อพืช    เพื่อดูดน้ำเลี้ยง ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายมีรอยแผลสีน้ำตาล ความเสียหายจะเกิดขึ้นเมื่อพบทำลายที่ดอกทำให้ดอก    มีตำหนิ แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           1. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาหารในบริเวณแปลงกล้วยไม้ เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นแหล่งขยายพันธุ์    และแพร่พันธุ์ของเพลี้ยไฟชนิดนี้           2. ในกรณีที่มีการปลูกพืชอาหารรอบ ๆ แปลงกล้วยไม้ควรทำการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟบนพืชอาหารเหล่านั้นด้วย เพื่อลดการระบาดของเพลี้ยไฟ           3. พ่น สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 10 – 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงงวงมะพร้าว

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงงวงมะพร้าว

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           มักทำลายตามรอยทำลายของด้วงแรดมะพร้าว โดยวางไข่บริเวณบาดแผลตามลำต้น หรือบริเวณรอยแตก  ของเปลือก ด้วงงวงมะพร้าวก็สามารถเจาะส่วนที่อ่อนของมะพร้าวเพื่อวางไข่ได้ หนอนที่ฝักตัวออกจากไข่จะกัดกิน  ชอนไชไปในต้นมะพร้าว ทำให้เกิดแผลเน่าภายใน ต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายจะแสดงอาการเฉาหรือยอดหักพับ       เพราะบริเวณที่หนอนทำลายจะเป็นโพรง มีรูและแผลเน่าต่อเนื่องไปในบริเวณใกล้เคียง หนอนจะกัดกินไปจนกระทั่ง  ต้นเป็นโพรงใหญ่ ไม่สามารถส่งน้ำและอาหารไปถึงยอดได้ และทำให้ต้นมะพร้าวตายในที่สุด แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. ต้นมะพร้าวที่ถูกด้วงมะพร้าวชนิดใหญ่ทำลาย ควรตัดโค่นทอนเป็นท่อนแล้วผ่าจับหนอนทำลาย           2. ไม่ควรให้ต้นมะพร้าวเกิดแผลหรือปลูกโคนลอย เพราะจำเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่ และตัวหนอนที่ฝักจากไข่จะเข้าทำลายในต้นมะพร้าวได้ หากลำต้นเป็นรอยแผล ควรทาด้วยน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้ว หรือชันผสมกับน้ำมันยาง เพื่อป้องกันการวางไข่           3. ป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าวอย่าให้ระบาดในสวนมะพร้าว เพราะรอยแผลทีด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้    จะเป็นช่องทางทำให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่ และเมื่อไข่ฝักออกเป็นตัวหนอนของด้วงงวงมะพร้าว ก็จะเข้าไปทำลายในต้นมะพร้าวได้ง่ายขึ้น อ้างอิงจาก:   ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี ประชาสัมพันธ์โดย กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงแรด

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ด้วงแรด

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืชโดยการบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลา หรือรูปพัด ถ้าโดนทำลายมาก ๆ จะทำให้ใบที่เกิดใหม่แคะแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัดเป็นเนื้อเยื้ออ่อนทำให้เกิดยอดเน่า จนถึงต้นตาย      ในที่สุด ด้วงแรดมะพร้าวในระยะตัวหนอน ส่วนใหญ่ตะพบตามกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จะกัดกินและทำลายระบบราก   ของมะพร้าวปลูกใหม่ ทำให้พบอาการยอดแห้งและเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าวเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมานาน ถ้ามีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย แกลบ ควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน หรือกองให้เป็นที่ แล้วหมั่นกลับเพื่อตรวจดู หากพบหนอนให้จับมาทำลายหรือเผากองขยะนั้นเสีย ส่วนของลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้ หรือมะพร้าว ที่ยืนต้นตายควรโค่นลงมาเผาทำลาย ต้นมะพร้าวที่ถูกตัดเพื่อปลูกทดแทน ถ้ายังสดอยู่เผาทำลายไม่ได้ ควรทอนออกเป็นท่อนสั้นๆ นำมารวมกันไว้ ปล่อยให้ผุสลายล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ ด้วงจะวางไข่ตามเปลือกมะพร้าวที่ติดอยู่กับพื้นดินเพราะมีความชุ่มชื้นสูงและผุ […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ไรขาวพริก

ข่าวเตือนภัยการเกษตร ไรขาวพริก

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลพริก สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           ทุกระยะการเจริญเติบโต ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนยอด และดอก ทำให้ใบและยอดหงิกงอ ขอบใบม้วนงอลงด้านล่าง ใบมีลักษณะเรียวแหลม ก้านใบยาว เปราะหักง่ายอาการขั้น รุนแรงส่วนยอดจะแตกเป็นฝอย ถ้าทำลายดอก กลีบดอกจะบิดแครน แกร็น ชะงักการเกิดดอก หากระบาดรุนแรงต้นพริกจะแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต มักพบระบาดในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. สุ่มสำรวจพริกทุกสัปดาห์ หากพบอาการใบหงิกม้วนงอลงที่เกิดจากการทำลายของไรขาวพริก ให้ทำการป้องกันกำจัด           ๒. เมื่อพบการระบาดใช้สารฆ่าแมลง-ไร ที่มีประสิทธิภาพ เช่น อะมิทราช 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไพริดาเบน 20% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ […]

ข่าวเตือนภัยการเกษตร แอนแทรคโนส หรือ โรคกุ้งแห้ง

ข่าวเตือนภัยการเกษตร แอนแทรคโนส หรือ โรคกุ้งแห้ง

(เชื้อรา Colletrichumgloeosporioides, ColletrichumCapsici) เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลพริก สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้           อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้           ทุกระยะการเจริญเติบโต ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ           โรคนี้มักพบบนผลพริกที่เริ่มสุก หรือก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี อาการเริ่มแรกเป็นจุดหรือแผลช้ำยุบตัวเล็กน้อย ต่อมาแผลขยายใหญ่ลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นตุ่มสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน ในสภาพอากาศที่ชื้นจะเห็นเมือกเยิ้มสีส้มอ่อน ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ผลเน่า ผลพริกที่เป็นโรคนี้จะโค้งงอบิดเบี้ยว ลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง และร่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยว แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้           ๑. เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ หรือต้นกล้า จากแหล่งแหล่งที่ปราศจากโรค หรือถ้าเก็บเมล็ดพันธุ์เองต้องเลือกจาก    ผลพริกที่ไม่เป็นโรค           ๒. ควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส นาน 20-30 นาที ก่อนเพาะ           ๓. จัดระยะปลูกพริกให้เหมาะสม ไม่ปลูกชิดกันเกินไป และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกเพื่อไม่ให้แปลงปลูก       มีความชื้นสูง ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค           ๔. หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบผลพริกเป็นโรค เก็บนำไปทำลายนอกแปลงปลูก […]

Skip to content