อำนาจหน้าที่ของสำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
(๒) ส่งเสริมและประสานการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต การจัดการผลผลิต และการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
(๓) ประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตของเกษตรกร
(๔) กำกับ ดูแล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานเกษตรพื้นที่ ๑ – ๔
(๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร , คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร กรุงเทพมหานคร (CoO) และตามที่ได้รับมอบหมายจากกรงส่งเสริมการเกษตร
สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร แบ่งงานภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 4 กลุ่ม และสำนักงานเกษตรพื้นที่ ๑ – ๔ ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ดังนี้
- ฝ่ายบริหารทั่วไป มีอัตรากำลังดังนี้ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป (เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส) ๑ คน, เจ้าพนักงานการเงินและการบัญชีชำนาญงาน ๑ คน, เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติการ ๑ คน และเจ้าพนักงานธุรการ ๑ คน รวม ๔ คน มีหน้าที่
๑) ปฏิบัติงานด้านงานธุรการ งานสารบรรณ งานพิมพ์และแจกจ่ายเอกสาร และการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒) ดำเนินการเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี พัสดุ งานดูแลอาคารสถานที่และยานพาหนะ
3) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคล
4) บริหารจัดการงบประมาณประจำปี และควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน
5) ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมของหน่วยงาน
6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
- กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร มีอัตรากำลังดังนี้ ผู้อำนวยการกลุ่ม (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ) ๑ คน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 1 คน และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ 2 คน รวม ๔ คน มีหน้าที่
1) ศึกษา พัฒนาและวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
2) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนของชุมชน องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
3) ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย
4) ส่งเสริม สนับสนุนและประสานการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
5) สนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
6) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด
7) ประสานและดำเนินงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ
8) ได้รับมอบหมายดำเนินการ ด้านการจัดงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
- กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต มีอัตรากำลังดังนี้ ผู้อำนวยการกลุ่ม (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ) ๑ คนนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ๑ คน และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ๒ คน รวม ๔ คน มีหน้าที่
1) ศึกษา พัฒนา และวางแผนการส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิตการเกษตร
2) ศึกษา พัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและจัดการผลผลิตการเกษตรที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
3) ดำเนินการส่งเสริม และประสานการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและจัดการผลผลิต และการให้บริการทางการเกษตร
4) ดำเนินการตามแผนงาน โครงการและมาตรการด้านการส่งเสริมการผลิต การจัดการผลผลิตและการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร และประสานการแก้ไขปัญหาการผลิตของเกษตรกร
5) ประสานและดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่เฉพาะ
6) สนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิต
7) ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิตในจังหวัด
8) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการด้านการพัฒนาสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน
- กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ มีอัตรากำลังดังนี้ ผู้อำนวยการกลุ่ม (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ) ๑ คน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ 3 คน และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ 1 คน รวม ๕ คน มีหน้าที่
1) ศึกษา วิเคราะห์และดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรด้านการผลิตพืช การพัฒนาอาชีพของเกษตรกร และส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
2) พัฒนาสารสนเทศระดับพื้นที่ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การปลูกพืช ผลผลิตการเกษตร วิสาหกิจชุมชน และข้อมูลทุติยภูมิอื่น ๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรในระบบสารสนเทศ
3) ศึกษา พัฒนาวิธีการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปรับปรุงกระบวนการทำงานในพื้นที่ พัฒนาบุคลากรและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
4) สนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนของชุมชน
5) สนับสนุนสำนักงานเกษตรพื้นที่ ๑ – ๔ ในการจัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมการเกษตร และการจัดทำข้อมูลสารสนเทศระดับพื้นที่
6) ติดตาม ประเมินผล รวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของสำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร
7) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานกับ CoO และสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ในด้านการดำเนินงาน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำแขวง (ศบกต.) จำนวน ๕๐ ศูนย์ ใน ๒๖ เขต
- กลุ่มอารักขาพืช มีอัตรากำลังดังนี้ ผู้อำนวยการกลุ่ม (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ) ๑ คน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ๑ คน และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ๒ คน รวม ๔ คน มีหน้าที่
1) ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินงานด้านการอารักขาพืช และงานดินปุ๋ยและดำเนินการตามแผนงาน โครงการและมาตรการด้านการอารักขาพืช
2) สำรวจ ติดตาม เฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของศัตรูพืช
3) ศึกษา พัฒนา รูปแบบและวิธีการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และถ่ายทอดเทคโนโลยีการอารักขาพืชและงานดินปุ๋ยให้กับเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่และเกษตรกร
4) ให้บริการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและให้คำปรึกษาแนะนำด้านเทคโนโลยีการอารักขาพืช และงานดินปุ๋ย
5) ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานด้านการอารักขาพืช และงานดินปุ๋ยในพื้นที่
6) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ
– ด้านการปลูกพืชชดเชยนาปรัง
– การลดการเปาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
– ด้านการติดตามสถานการณ์น้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และประสานงานกับสำนักระบายน้ำกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเกษตรพื้นที่ ๑ รับผิดชอบ ๑๐ เขต (ชั้นใน ๗ เขตและชั้นนอก ๓ เขต) มีอัตรากำลังดังนี้
- หัวหน้าสำนักงาน (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ) ๑ คน
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ ๑ คน
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ๓ คน
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 5 คน
- เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน ๑ คน
- พนักงานธุรการ ๑ คน
รวม ๑๒ คน
สำนักงานเกษตรพื้นที่ ๒ รับผิดชอบ ๑๕ เขต (ชั้นใน ๖ เขตและชั้นนอก ๙ เขต) มีอัตรากำลังดังนี้
- หัวหน้าสำนักงาน (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ) ๑ คน
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ๒ คน
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ๓ คน
- เจ้าพนักงานธุรการ ๑ คน
รวม ๗ คน
สำนักงานเกษตรพื้นที่ ๓ รับผิดชอบ ๑๖ เขต (ชั้นใน ๑๐ เขตและชั้นนอก ๖ เขต) มีอัตรากำลังดังนี้
- หัวหน้าสำนักงาน (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ) ๑ คน
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ๒ คน
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ๔ คน
- เจ้าพนักงานธุรการ ๑ คน
รวม ๘ คน
สำนักงานเกษตรพื้นที่ ๔ รับผิดชอบ ๙ เขต (ชั้นใน ๕ เขตและชั้นนอก ๔ เขต) มีอัตรากำลังดังนี้
- หัวหน้าสำนักงาน (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ) ๑ คน
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ๑ คน
(ถูกยืมตัวช่วยราชการกองขยายพันธ์พืช ๑ คน)
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ๓ คน
- เจ้าพนักงานธุรการ ๑ คน
รวม ๖ คน
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการส่งเสริมการผลิตการเกษตรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
(๒) ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน
(๓) ส่งเสริมและประสานการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต การจัดการผลผลิต และการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
(๔) ให้บริการและส่งเสริมอาชีพการเกษตร
(๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ช่วยเลขานุการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประจำแขวง (ศบกต.) จำนวน ๕๐ ศูนย์
ขอบเขตการรับผิดชอบในการดำเนินงาน
- พื้นที่ความรับผิดชอบ ๑๔๙,๙๘๐ ไร่
- พื้นที่เขตชั้นใน ๒๔ เขต / เขตชั้นนอก ๒๖ เขต ๕๐ เขต ๑๘๐ แขวง
- จำนวนครัวเรือนเกษตรกร ๖,๖๓๘ ครัวเรือน
งานตามภารกิจส่งเสริมการเกษตร
- งานส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน ๑๒ แปลง และตั้งใหม่ ปี ๖๔ จำนวน ๒ แปลง
- งานพัฒนาสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน จำนวน ๓ ชนิดสินค้า เป้าหมาย ๑,๖๐๐ ราย
- งานการส่งเสริมอารักขาพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ผ่านศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) จำนวน ๑๔ ศูนย์
- งานขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) จำนวน ๔ ศูนย์
- งานส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายทดแทนนาปรัง พื้นที่เป้าหมาย ๙๖,๐๐๐ ไร่
- งานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรแปรรูป โดยมุ่งเน้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน ๑๙๗ กลุ่ม
- งานยกระดับและเพิ่มศักยภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปของชุมชน เป้าหมาย YSF จำนวน ๑๕๐ คน / SF จำนวน ๑,๕๐๕ คน
- สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตร จำนวน ๒๖๙ กลุ่ม
- งานส่งเสริมการหยุดการเผาในพื้นที่เกษตร พื้นที่เป้าหมาย ๙๖,๐๐๐ ไร่
- งานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน (ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) โรงเรียนในสังกัด กทม. จำนวน ๓๑ โรง
- งานส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน ๙ แห่ง
- งานบริหารจัดการและพัฒนา ศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จำนวน ๔ ศูนย์หลัก และ ๗๕ ศูนย์เครือข่าย
งานร่วมมือกับหน่วยงานอื่น
๑ ) งานร่วมกับสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร จัดทำแผนพัฒนาการเกษตรกรุงเทพมหานคร โดยผ่านขบวนการ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำแขวง (ศบกต.)