Menu

พืชป่าสมุนไพร

       

พืชป่าสมุนไพร

          พืชสมุนไพรชนิดที่เป็นพืชป่าพื้นเมืองของประเทศไทย (native species) มีจำนวนกว่า 512 ชนิด        ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านกว่า 209 ตำรับ เนื่องจากพืชป่าท้องถิ่นมีความเสี่ยงต่อการ     สูญพันธุ์จากการทำลายป่าไม้ การเก็บหามาใช้ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง     ความเสี่ยงต่อการสูญหายขององค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์ไปตามสมัยนิยม และวิกฤตการณ์หมอสมุนไพรดังนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรในยุคที่มีการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน หันมาปลูกพืชป่าสมุนไพรจะเป็นอีกทางเลือกที่ดีต่อการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการอนุรักษ์พืชป่าพื้นเมืองของประเทศไทยให้คงอยู่ และยังนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย ตัวอย่างพืชสมุนไพรป่า ได้แก่

ขี้เหล็ก

ชื่อท้องถิ่น : ขี้เหล็ก (สระแก้ว, พิษณุโลก)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) H. S. Irwin & Barneby

ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ลักษณะเด่น : ไม้ต้น สูง 10–25 ม. เปลือกเรียบ-แตกร่องตื้นตาม

ยาว ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ มีใบย่อย 7–10 คู่ เรียงตรง

ข้าม รูปรี ปลายใบมน (จุดเด่น) แผ่นใบด้านล่างค่อนข้างเกลี้ยง

ก้านใบและแกนใบมีขนสีขาว ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ดอกสี

เหลือง ฝักแบนรูปแถบยาว ยาว 15–30 ซม. ฝักอ่อนสีเขียวอ่อน

สรรพคุณ

แก่น : แก้โรคเหน็บชา

ใบ : ระยะเพสลาด : บำรุงระบบประสาท ทำให้นอนหลับ

 ตะคร้อ

ท้องถิ่น : ตะคร้อ (พิษณุโลก), หมากคร้อ(อุดรธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schleichera oleosa (Lour.) Merr.

ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE

ลักษณะเด่น : ไม้ต้นผลัดใบ สูงถึง 20 ซม. เปลือกแตกเป็นสะเก็ดบาง

กิ่งอ่อนและแผ่นใบด้านล่างมีขนสั้น ใบเรียงเวียน ใบประกอบแบบขนนก

มีใบย่อย 2–3 คู่ เรียงตรงข้ามรูปรี ยาว 6–17 ซม. ช่อดอกสีขาวอมเขียว

ผลทรงกลม กว้าง 1.5–2 ซม. เปลือกแข็งค่อนข้างหนา ผลสุกสีเหลือง

มักมีสะเก็ดสีน้ำตาล เนื้อในสีส้ม รสเปรี้ยว เป็นผลไม้ป่า

สรรพคุณ

เนื้อไม้ : ช่วยขับน้ำคาวปลาหลังคลอด

เปลือก : แก้ท้องร่วง, ผลสุก : เนื้อในสีส้มรสเปรี้ยว ทานช่วยระบายถ่ายท้อง

ะแบกนา

ชื่อท้องถิ่น : เปือย (อุดรธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia floribunda Jack var. floribunda

ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE

ลักษณะเด่น : ไม้ต้นผลัดใบ สูงถึง 20 ม. เปลือกหลุดล่อนเป็นดวง

และหลุมตื้น ถากเปลือกในสีขาวอมชมพู เห็นชั้นแคมเบียมสีม่วง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม คล้ายกับตะแบกแดง มีจุดต่างที่ตะแบกนามีแผ่นใบด้านล่างเกลี้ยง กลีบดอกสีชมพู-ขาวดอกบาน กว้าง 3–4 ซม. ผิวด้านนอกถ้วย กลีบเลี้ยงมีจีบ 12 จีบ ตามแนวตั้ง ผลรูปไข่กว้าง ยาว 1.5–2 ซม.

สรรพคุณ

• เปลือก : ช่วยขับระดู แก้โลหิตจาง ยาอายุวัฒนะ

• ราก : ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดท้องและปวดประจำเดือน

 มะไฟ

ชื่อท้องถิ่น : มะไฟ (พัทลุง, ตรัง, อุดรธานี) มะไฟป่า (พิษณุโลก)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea ramiflora Lour.

ชื่อวงศ์ : PHYLLANTHACEAE

ลักษณะเด่น : ไม้ต้น สูงถึง 10 ม. เปลือกสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดเล็กและบาง

มีขนประปรายตามส่วนอ่อน ๆ ใบเดี่ยว เรียงเวียน เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง

รูปรี – รูปไข่กลับ ยาว 10 –25 ซม. ขอบใบหยักมน – เรียบ ก้านใบยาว 4–7 ซม.

ปลายบวม ช่อดอก แยกเพศแยกต้น สีเหลืองครีม ช่อผลออกเป็นกระจุกตามกิ่งใหญ่

และลำต้น ห้อยยาว 10–40 ซม. ดอกสีเหลืองอ่อน ผลกลม-รูปรี ยาว 2.5–4 ซม.

สุกสีเหลือง – อมส้ม เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีขาว รสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดสีขาว-ม่วง พบตามป่าดงดิบทั่วประเทศ

สรรพคุณ

• ราก : แก้เสมหะ แก้กำเดา บำรุงไฟธาตุ แก้บวม

• ดอก : แก้บิด แก้ท้องเสีย เจริญอาหาร ฆ่าเชื้อ ขับน้ำดี ขับน้ำย่อย เป็นยาสงบระงับ เป็นยาฝาดสมาน แก้ปวดประสาท

• ราก : แก้ไข้ตัวร้อน ช่วยทำให้ตัวเย็น รักษาฝีภายใน

          นอกจากนี้ยังมีพืชป่าสมุนไพรอีกหลายชนิดหากท่านใดสนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

          หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรในพื้นที่ใกล้บ้านท่าน หรือติดต่อขอคำแนะนำได้ที่ สำนักงานเกษตรพื้นที่ 1 – 4 หรือสำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Skip to content